อาหารเสริมทางใบพืชทุกประเภทใช้แล้วได้ผลจริง สนใจกรอกรายละเอียดด้านล่าง เราจะรีบติดต่อกลับโดยเร็วที่สุด

Powered By | สั่งซื้อสินค้า Via ติดต่อป.เคมีภัณฑ์

ราคาข้าวสารหอมมะลิ,หอมนิล,ไรซ์เบอรี,สินเหล็ก-เช้านี้

หญ้าในนาข้าวไม่ตาย ช่วง 20วันขึ้นไป




นวัตกรรมใหม่!!!สำหรับนาข้าวยุคปี2556
คุม-เลนแล้ว--- คุม-ฆ่าแล้ว--- หญ้าไม่ตายแน่ และเห็นหญ้าเมื่อ 25วัน ให้ใช้ยาแถวบ้านเกษตรกรไปก่อน 2-3ครั้ง ถ้าไม่ตาย หรือไม่ประทับใจ ถึงโทรมาปรึกษา หรือ สั่งชุด เด็ดหัว จากทางร้านไปใช้
ขอย้ำ 2-3 ครั้ง ค่อยโทรมาค่ะ ไม่ชอบคนถามเฉยแสดงว่า คุณคือร้านค้าลวงความลับเท่านั้น

บัตรเคดิตเกษตรกร กับ เครื่องรูดบัตร ดีอย่างไร

บัตรสินเชื่อเกษตรกรทะลุเป้า 4 ล้านบัตร พร้อมขยายสิทธิประโยชน์การใช้บริการเพิ่ม
1

 


ธ.ก.ส.ขยายสิทธิประโยชน์การใช้บัตรสินเชื่อสู่สินค้าอุปโภคบริโภค เพิ่มบริการกดเงินสดฉุกเฉินรายละ 50,000 บาท การตรวจสุขภาพฟรีประจำปี พร้อมสิทธิคุ้มครองประกันชีวิตรายละ 100,000 บาท แก่เกษตรกรผู้ถือบัตรกว่า 4 ล้านใบ ยันการถือบัตรไม่ใช่การสร้างหนี้เพิ่มแต่เป็นการอำนวยความสะดวกด้านบริการ การเงินแก่เกษตรกรเทียบเท่าคนในเมือง พร้อมอัดแคมเปญชิงโชคกระตุ้นวินัยการใช้จ่ายผ่านบัตรและชำระหนี้ตรงเวลา

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรตามนโยบายของรัฐบาลว่า ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2556 ธ.ก.ส. สามารถดำเนินการอนุมัติบัตรและจัดทำบัตรเพื่อส่งมอบให้เกษตรกรไปแล้ว 4,132,362 บัตร โดยครอบคลุมเกษตรกรทุกกลุ่มอาชีพ จำนวนวงเงินอนุมัติทั้งสิ้น 63,279,589,216 บาท โดยเกษตรกรนำบัตรไปรูดซื้อปัจจัยการผลิตแล้วจำนวน 17,085 ล้านบาท มีร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการจำนวน 8,616 ร้านค้า ซึ่งประมาณร้อยละ 70 เป็นร้านค้าของขบวนการสหกรณ์ นอกจากนั้นเป็นร้านค้าเอกชน และสถานีบริการน้ำมัน โครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรเป็นนโยบายที่รัฐบาลต้องการให้เกษตรกรเข้าถึง บริการและนวัตกรรมทางการเงินที่สะดวกรวดเร็วเฉกเช่นคนในเมือง รวมทั้งสามารถใช้เป็นช่องทางดูแลในเรื่องการจัดหาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร ที่มีคุณภาพและราคาที่เป็นธรรม เพื่อลดต้นทุนการผลิตแก่เกษตรกรโดยตรง เช่น การงดคิดดอกเบี้ยการใช้จ่ายผ่านบัตรในช่วง 1 เดือนแรกของ ธ.ก.ส. และหากเกษตรกรซื้อปัจจัยการผลิตจากผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการก็จะได้รับการ งดคิดดอกเบี้ยอีก 4 เดือน โดยผู้ผลิตจะรับภาระดอกเบี้ยแทน ทำให้เกษตรกรไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหากชำระหนี้บัตรภายใน 5 เดือน
นายทนุศักดิ์กล่าวต่อไปว่า เพื่อเพิ่มคุณค่าของบัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. ได้ขยายสิทธิประโยชน์ในการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มเติมจากเดิมที่ซื้อได้เฉพาะ ปุ๋ย เมล็ดพันธุ์ สารกำจัดศัตรูพืช และน้ำมันเชื้อเพลิง เพิ่มเป็นการจัดซื้ออาหารสัตว์ อุปกรณ์เครื่องใช้ทางการเกษตร และสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นในครัวเรือน เช่น ข้าวสาร เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมอบสิทธิประโยชน์ให้ผู้ถือบัตรด้วยการจัดทำกรมธรรม์คุ้มครองการประกัน ชีวิตหรือการประกันอุบัติเหตุวงเงินสูงสุดไม่เกินรายละ 100,000 บาท การได้รับสิทธิการตรวจสุขภาพประจำปีฟรีกับโรงพยาบาลของรัฐที่เข้าร่วม โครงการ นอกจากนี้ ธ.ก.ส. กำลังพัฒนาระบบเพื่อใส่วงเงินสดรายละไม่เกิน 50,000 บาท เพื่อให้เกษตรกรผู้ใช้บัตรสามารถนำไปกดเงินสดที่ตู้ ATM ของธ.ก.ส. เมื่อมีเหตุฉุกเฉินที่ต้องการใช้เงินสดด่วนได้ตลอด 24 ชั่วโมง ซึ่งบริการดังกล่าวจะช่วยลดปัญหาการพึ่งพาเงินนอกระบบที่คิดดอกเบี้ยในอัตรา สูงๆ ถือเป็นการสร้างโอกาสในการเข้าถึงบริการการเงินในระบบให้แก่เกษตรกรในช่วงจำ เป็น โดยคาดว่าระบบดังกล่าวจะเสร็จก่อนสิ้นปีนี้
นายทนุศักดิ์กล่าวอีกว่า การให้เงินกู้ผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกรไม่ใช่การสร้างภาระหนี้สินเพิ่มให้ เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมา ธ.ก.ส. ก็ได้ให้บริการเงินกู้เพื่อนำไปใช้ในการจัดซื้อปัจจัยการผลิตและเงินกู้ฉุก เฉิน (A-Cash) เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนที่อาจเกิดขึ้น เพียงแต่เปลี่ยนแปลงวิธีการให้เงินกู้ จากเดิมที่เกษตรกรต้องทำเอกสารทุกครั้งที่ต้องการใช้เงินกู้ มาเป็นการดำเนินการผ่านบัตรสินเชื่อเกษตรกร ซึ่งจะช่วยอำนวยความสะดวกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังส่งผลให้เกษตรกรนำเงินกู้ไปใช้ได้ถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ เนื่องจากขอบเขตการใช้จ่ายผ่านบัตรได้ระบุไว้อย่างชัดเจน ธ.ก.ส. จึงมั่นใจว่าการดำเนินงานดังกล่าวจะไม่ส่งผลให้เกษตรกรลูกค้าเป็นหนี้ที่ไม่ ก่อให้เกิดรายได้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน และระบบเงินทุนหมุนเวียนในเศรษฐกิจฐานราก ที่สำคัญบัตรสินเชื่อเกษตรกรมีการกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ที่สอดคล้องกับการ ผลิตของเกษตรกรซึ่งแตกต่างจากบัตรเครดิตโดยทั่วไปที่ต้องชำระหนี้กันทุก เดือน อย่างไรก็ตาม เพื่อปลูกฝังวินัยทางด้านการเงินและการใช้จ่ายผ่านบัตรโดยไม่กระทบต่อภาระ หนี้สินในอนาคต ธ.ก.ส. ได้จัดกิจกรรมจูงใจให้เกษตรกรชำระหนี้ภายในกำหนด ด้วยการจัดลุ้นโชคเป็นของรางวัลมากมายมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท และในกรณีที่เกษตรกรยินยอมให้นำเงินที่ได้รับจากการจำนำข้าวมาหักชำระหนี้ บัตร
ธ.ก.ส. จะลดดอกเบี้ยให้อีกร้อยละ 1.50% เหลือเพียงร้อยละ 5.50 เท่านั้น ทั้งนี้ จากการประเมินผลโครงการล่าสุดพบว่าเกษตรกรเริ่มมีความเข้าใจ และเห็นว่าบัตรมีประโยชน์ มีคุณค่า จึงสนใจที่จะขอใช้บริการกันมากขึ้น ซึ่งเกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอจัดทำบัตรและรับบัตรได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขาทั่วประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดทำบัตรและค่าธรรมเนียมรายปีใดๆทั้งสิ้น ส่วนร้านค้าขายวัสดุปัจจัยการเกษตร หากสนใจจะขายสินค้าผ่านบัตรก็สามารถติดต่อขอเข้าร่วมโครงการได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้นเช่นกัน


ทำบล็อกขายสินค้าเรื่องปอกกล้วย

รับโมดิฟลายบล็อก
บล็อก (อังกฤษ: blog) หรือ เว็บล็อก (weblog) เปนหนาเว็บประเภทหนึ่ง ซึ่งคำวblog อมาจากคำวาweblog หรือ web log โดยคำวweblog นั้นมาจาก web (เวิลดไวดเว็บ) และ log (ปูม, บันทึก) รวมกันหมายถึง บันทึกบนเวิลดไวดเว็บ นั่นเองในปจจุบันบล็อก ถูกใชเปนเครื่องมือสื่อสารรูปแบบใหมไมว่าจะเปนการประกาศขาวสาร การแสดงความคิดเห็น การเผยแพรผลงาน ฯลฯ และกำลังเปนที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยขณะนี้ไดมีผูใหบริการบล็อกมากมาย ทั้งแบบใหบริการฟรี และเสียคาใชจาย
Blogger Templates รูปแบบมีใหเลือกแตงดั่งใจนึกมากกว1000 กวาแบบ http://www.bloggerthemes.net/
ราคาเพียง 1,999 บาท
ตัดสินใจวันนี้ รวยวันนี้เพราะขายของไดชัวร
ตัวอย่างบล็อกคนดู 2แสนกว่าๆ
ดูกล้องสดๆจากเขื่อนเจ้าพระยา&ฟังเพลงมันส์ๆ:http://www.0879181778.blogspot.com
ฟังเรื่องข้าวอินทรีย์(เปิดลำโพงด้วยครับ):http://www.organicricesingburi.blogspot.com
บางระจันดีไซน์:http://www.bangrachandisai.blogspot.com
 

รับมือเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลแบบถูกวิธี

เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล (brown plant hopper, BPH)  
    
ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal)
วงค์ Delphacidae
อันดับ Homoptera

ชื่อสามัญอื่น -

วงจรชีวิตและระยะทำลายพืช  
ไข่ ตัวอ่อน ตัวเต็มวัย
        เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นแมลงจำพวกปากดูด อยู่ในอันดับ Homoptera วงค์ Delphacidae มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nilaparvata lugens (Stal) ตัวเต็มวัยมีลำตัวสีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลปนดำ มีรูปร่าง 2 ลักษณะ คือ ชนิดปีกยาว (macropterous form) และชนิดปีกสั้น (bracrypterous form) ชนิดมีปีกยาวสามารถเคลื่อนย้ายและอพยพไปในระยะทางใกล้และไกล โดยอาศัยกระแสลมช่วย ตัวเต็มวัยเพศเมียจะวางไข่เป็นกลุ่ม ส่วนใหญ่วางไข่ที่กาบใบข้าว หรือเส้นกลางใบ โดยวางไข่เป็นกลุ่ม เรียงแถวตามแนวตั้งฉากกับกาบใบข้าว บริเวณที่วางไข่จะมีรอยช้ำเป็นสีน้ำตาล ไข่มีลักษณะรูปกระสวยโค้งคล้ายกล้วยหอม มีสีขาวขุ่น ตัวอ่อนมี 5 ระยะ ระยะตัวอ่อน 16-17 วัน ตัวเต็มวัยเพศเมียชนิดปีกยาวมีขนาด 4-4.5 มิลลิเมตร วางไข่ประมาณ 100 ฟอง เพศผู้มีขนาด 3.5-4 มิลลิเมตร เพศเมียชนิดปีกสั้นวางไข่ประมาณ 300 ฟอง ตัวเต็มวัยมีชีวิตประมาณ 2 สัปดาห์ ในหนึ่งฤดูปลูกข้าวเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถเพิ่มปริมาณได้ 2-3 อายุขัย (generation)

ตัวเต็มวัยชนิดปีกสั้นและปีกยาว


ตัวอ่อนเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
ลักษณะการทำลาย

        เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยทำลายข้าว โดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากเซลส์ท่อน้ำท่ออาหาร บริเวณโคนต้นข้าว ระดับเหนือผิวน้ำ ทำให้ต้นข้าว มีอาการใบเหลืองแห้ง ลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียก “ อาการไหม้ ( hopperburn )” โดยทั่วไปพบอาการไหม้ในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ซึ่งตรงกับช่วงอายุขัยที่ 2-3 ( generation ) ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว ที่ขาดน้ำ ตัวอ่อนจะลงมาอยู่ที่บริเวณโคนกอข้าว หรือบนพื้นดินที่แฉะมีความชื้น นอกจากนี้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ยังเป็นพาหะนำเชื้อไวรัสโรคใบหงิก ( rice ragged stunt ) มาสู่ต้นข้าวทำให้ต้นข้าวมีอาการแคระแกร็น ต้นเตี้ย ใบสีเขียว แคบและสั้น ใบแก่ช้ากว่าปรกติ ปลายใบบิด เป็นเกลียว และ ขอบใบแหว่งวิ่น
ลักษณะการระบาดรุนแรงในนา

อาการไหม้ ( hopperburn ) ของต้นข้าว

  
ต้นข้าวที่เป็นโรคใบหงิก ( rice ragged stunt )
ปัจจัยที่มีผลต่อการระบาด

        วิธีการปลูกข้าว การปลูกข้าวแบบนาหว่านน้ำตมมีปัญหาการระบาดมากกว่านาดำเพราะนาหว่านมีจำนวนต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อุณหภูมิและความชื้นในแปลงนาเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ประกอบกับนาหว่านเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลสามารถทำลายข้าวได้อย่างต่อเนื่อง

        การใช้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยอัตราสูง โดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ การเพิ่มจำนวน เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ในนาข้าวมีแนวโน้มมากขึ้น เนื่องจากปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ใบข้าวเขียว หนาแน่น ต้นข้าวมีสภาพอวบน้ำ เหมาะแก่การเข้าดูดกินและขยายพันธุ์ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

        การควบคุมน้ำในนาข้าว สภาพนาข้าวที่มีน้ำขังในนาตลอดเวลา ทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล สามารถเพิ่มจำนวน ได้มากกว่า สภาพที่มีการระบายน้ำในนาออก เป็นครั้งคราว เพราะมีความชื้น เหมาะแก่การเจริญเติบโต ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

        การใช้สารฆ่าแมลง การใช้สารฆ่าแมลง ในระยะที่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เป็นตัวเต็มวัย ชนิดปีกยาว หรือช่วงที่อพยพเข้า ในนาข้าวใหม่ๆ ( ข้าวระยะ 30 วันหลังหว่าน ) ศัตรูธรรมชาติ จะถูกทำลาย และสารฆ่าแมลง ก็ไม่สามารถทำลายไข่ ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้ ทำให้ตัวอ่อนที่ฟักออกจากไข่มีโอกาสรอดชีวิตสูง
ศัตรูธรรมชาติที่มีบทบาทในการควบคุมประชากรเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลได้แก่

        มวนเขียวดูดไข่
Cyrtorhinus lividipennis (Reuter) เป็นตัวห้ำในอันดับ Hemiptera วงค์ Miridae เป็นตัวห้ำที่สำคัญทำลายไข่เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยการดูดกินของเหลวภายในไข่ มักพบแพร่กระจายในภาคกลางเป็นส่วนใหญ่และอพยพเข้ามาพร้อมกับเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ซึ่งถ้าพบมวนชนิดนี้ในนามากกว่าเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล 2-3 เท่า มวนชนิดนี้ สามารถควบคุม การเพิ่มปริมาณ ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล โดยไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผลผลิตข้าวได้

        แมงมุมสุนัขป่า
Lycosa psuedoannulata ( Bosenberg & Strand ) เป็นแมงมุมในอันดับ Araneae วงค์ Lycosidae เป็นตัวห้ำที่มีบทบาทมากที่สุดในการควบคุมปริมาณตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลในนาข้าว เนื่องจากสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในพื้นที่ต่างๆในนา โดยจะเคลื่อนย้ายเข้าในนาระยะหลังหว่านข้าวและจะเพิ่มปริมาณสูงในระยะข้าว แตกกอ
  
การบริหารจัดการเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
        1) ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 60 ปทุมธานี 1 พิษณุโลก 2 ชัยนาท 1 และชัยนาท 2 และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน 4 ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ต้านทานสูงกับพันธุ์ทนทานหรือพันธุ์อ่อนแอปานกลาง โดยพิจารณาอายุเก็บเกี่ยวให้ใกล้เคียงกัน เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาดรุนแรง

        2) ในแหล่งที่มีการระบาด และควบคุมระดับน้ำในนาได้ หลังปักดำหรือหว่าน 2-3 สัปดาห์จนถึงระยะตั้งท้องควบคุมน้ำในแปลงนาให้พอดินเปียก หรือมีน้ำเรี่ยผิวดินนาน 7-10 วัน แล้วปล่อยขังทิ้งไว้ให้แห้งเองสลับกันไป จะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล

        3) เมื่อตรวจพบสัดส่วนของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเต็มวัยต่อมวนเขียวดูดไข่ระหว่าง 6 :1- 8 :1 หรือ
ตัวอ่อนระยะ 1-2 เมื่อข้าวอายุ 30-45 วัน จำนวนมากกว่า 10 ตัวต่อต้น ให้ใช้สารฆ่าแมลง บูโพรเฟซิน 
(แอปพลอด 10% ดับบลิวพี) อัตรา 25 มิลลิกรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นหรือใช้สาร อีโทเฟนพรอกซ์
(ทรีบอน 10% อีซี) อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ บูโพรเฟซิน/ไอโซโปรคาร์บ (แอปพลอด/มิพซิน 5%/20% ดับบลิวพี) อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากกว่า 1 ตัวต่อต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวงใช้สาร อิมิดาโคลฟริด (คอนฟิดอร์ 10% เอสแอล) อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

        4) ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล ( resurgence ) หรือสารกลุ่มไพรีทรอยด์สังเคราะห์ เช่น แอลฟาไซเพอร์มิทริน ไซเพอร์มิทริน ไซแฮโลทริน เดคาเมทริน เอสเฟนแวเลอเรต เพอร์มิทริน ไตรอะโซฟอส ไซยาโนเฟนฟอส ไอโซซาไทออน ไฟริดาเฟนไทออน ควินาลฟอส และ
เตตระคลอร์วินฟอส เป็นต้น
สารเคมีที่ใช้ควบคุม
  • คาร์แทป+ไอโซโพรคาร์บ 5 กิโลกรัม/ไร่
  • อิมิดาโคลพริด 15-30 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร
  • บูโพรเฟซิน+ไอโซโปร์คาร์บ 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • ไอโซโปร์คาร์ 60กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • บูโพรเฟซิน 20-30 กรัม/น้ำ 20 ลิตร
  • อีทิโพรล 40 ซีซี/น้ำ 20 ลิตร

เอ็คโค่ บวก ข้าวเขียว แตกกอดีเยี่ยม

ฉีดผสมกันช่วงคุม-เลน 0-4 วัน>>>แตกกอไว ตั้งหน่อไว

ไกโฟเสต48%สู้ไกโฟเสต88.8%ราคาส่ง-ปลีก